วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ชุดต้นแบบการตรวจวัดก๊าซแอมโมเนีย สำหรับพื้นที่คอกปศุสัตว์

ปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศูสัตว์ โดยลักษณะของก๊าซที่ได้จากมูลสัตว์ จะส่งผลอันตรายสัตว์และคนดูแลสัตว์  ก๊าซที่ได้จากมูลสัตว์มีมากมายหลายชนิดด้วยกัน อาทิเช่น  กรดอะซิติก กรดบิวทิริค ไนโตรเจนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนไดซัลไฟล์ แอมโมเนีย เป็นต้น โดยก๊าสแอมโมเนียเป็นก๊าสอีกชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสัตว์เลี้ยง ซึ่งก๊าสแอมโมเนียมีสถานะที่ไม่มีสี ผู้ที่สูดดมกลิ่นจะมีอาการแสบจมูก โดยส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่ได้รับหรือสัมผัส ได้แก่ ระบบหายใจ ดวงตา เป็นต้น สัตว์ที่สูดดมก๊าซนี้ จะเกิดอาการแพ้ ระคายต่อเยื่ออ่อนต่างๆ เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ตา หู ปาก จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินหายใจ ทำให้สัตว์เครียด อ่อนแอลง มีการแสดงออกคล้ายเป็นหวัดอ่อนๆ เช่น มีน้ำมูก น้ำตาไหล ถูกเชื้อโรคเข้าซ้ำเติมจนเป็นโรคต่างๆได้ง่าย ในสัตว์ปีกจะไวต่อก๊าซแอมโมเนียมาก ส่วนในหมูก็เช่นเดียวกัน [1]. https://www.gotoknow.org/posts/407551 โดยก๊าสแอมโมเนียจากพื้นคอกที่มีไนโตรเจนปะปนอยู่ไม่ว่าจะเป็นจากเศษอาหาร มูล ฉี่ เมื่อได้รับความชื้นในดินมากพอก็จะเกิดขบวนการแอมโมนิฟิเคชันทำให้ไนโตรเจนในสารอินทรีย์แตกตัวออกแล้วปล่อยแอมโมเนียออกมา การซึมซับของน้ำจากดินพื้นคอก เมื่อชื้นพอก็จะปล่อยแอมโมเนียออกมาได้ตลอดเวลาโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน แหล่งกําเนิดกลิ่นจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญมี  4 แหล่ง [2]. http://infofile.pcd.go.th/air/SmelleFarm1.pdf ได้แก่
-          โรงเรือนหรือคอกสุกร
-          ลานตากและโรงเก็บมูล
-          ระบบรวบรวมและบําบัดน้ำเสีย

-          บริเวณที่นํามูลไปใช้ประโยชน

จากปัญหากลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศูสัตว์ ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนจะอธิบายและนำเสนอโครงงานชุดต้นแบบการตรวจวัดก๊าซแอมโมเนีย สำหรับพื้นที่คอกปศุสัตว์ ที่เกษตรกรหรือผู้เลี้ยงสัตว์สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่งเท่านั้นโดยจะใช้เซนเซอร์ตรวจวัดก๊าสแอมโมเนีย NH3 เบอร์ MQ 137 ในโครงงานนี้ ส่วนความแม่นยำของโครงงานดังกล่าวยังคงมีประสิทธิภาพต่ำ ดังนั้น การนำไปใช้งานจึงต้องนำไปสอบเทียบกับค่ามาตรฐานของการวัดหาความแม่นยำกับเครื่องหรือชุดตรวจวัดก๊าซแอมโมเนีย NH3 แบบดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพที่จำหน่ายทั่วไป     
การทดสอบและใช้งานชุดต้นแบบการตรวจวัดก๊าซแอมโมเนีย
                ในขั้นตอนแรก คือ นำแบตเตอรี่ขนาด 9โวลต์ ต่อเชื่อมกับอินพุตของชุดต้นแบบการตรวจวัดก๊าซแอมโมเนียเปิดสวิตซ์การทำงาน SW1 สังเกตุสถานะการติดสว่างของหลอด LED1 จะต้องติดสว่าง จากนั้น นำสำลีจุ่มก๊าซแอมโมเนียที่เตรียมไว้มาเข้าใกล้บริเวณที่ติดตั้งเซนเซอร์ เบอร์ MQ 137 จากนั้น ทดลองปรับค่าความต้านทาน VR1 ไปจนกว่าจะเกิดเสียงเตือนดังออกทางลำโพงบัซเซอร์ ถ้สขั้นตอนการทดสอบเป็นไปตามนี้ก็แสดงว่าโครงงานที่ออกแบบพร้อมนำไปใช้ทดสอบในภาคสนามจริง ส่วนความแม่นยำในการตรวจวัดก๊าซแอมโมเนียอยู่ในระดับพอใช้ได้เท่านั้น ผู้ใช้งานจำเป็นต้องไปโครงงานดังกล่าวนี้ไปติดตั้งและทดสอบโดยการปรับค่าเปรียบเทียบกับชุดจรวจวัดก๊าซแอมโมเนียคุณภาพสูงที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเปรียบเทียบกันต่อไป 
รูปที่ 1. ชุดต้นแบบการตรวจวัดก๊าซแอมโมเนียที่ออกแบบเสร็จสมบูรณ์
สรุป ชุดต้นแบบการตรวจวัดก๊าซแอมโมเนียที่ประกอบวงจรเสร็จสมบูรณ์พร้อมนำไปทดสอบใช้งานได้ในระดับหนึ่งที่พอใช้ได้ เพื่อช่วยเกษตรกรสำหรับคอกปศุสัตว์ที่ต้องการตรวจสอบกลิ่นของก๊าสแอมโมเนียเท่านั้น สำหรับโครงงานนี้ ส่วนวิธีการแก้ปัญหากลิ่นก๊าสแอมโมเนียและก๊าซต่างๆ ภายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การแก้ปัญหาจากต้นเหตุของปัญหาจริงๆนั้น เกษตรกรควรจัดคอกเลี้ยงแบบพื้นซีเมนต์ เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียซึมผ่านลงดิน เพื่อป้องกันการระเหยของแอมโมเนียขึ้นถึงสัตว์เลี้ยง อาทิเช่น คอกสุกร โดยคอกแบบนี้ควรมีลาน ร่อง อยู่ส่วนท้ายของคอก เพื่อเป็นที่พักของมูลสัตว์ลงในบ่อเกรอะบริเวณใกล้เคียง ดังนั้น กลิ่นก๊าสแอมโมเนียของเสียจากท้ายคอกหรือบ่อพักจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตสัตว์เลี้ยงในคอกได้เป็นอย่างดี…………………………………………………………………………………………        
เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจโครงงานชิ้นนี้ เพื่อนำไปเรียนรู้หรือทดลองหรือสนใจสั่งซื้อเซนเซอร์ตรวจจับก็าซชนิดต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียดมาที่เบอร์ 086-701-6463 หรือ LINE ID: panya.mak ได้เลยนะครับ

ชุดต้นแบบการแจ้งเตือนแก็สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับอุตสาหกรรมการรมควันผลลำไย

ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจสำอย่างหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งจังหวัดที่มีการปลูกลำไยมากเป็นพิเศษ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากมีสภาพดินปนทรายที่เหมาะสมกับการปลูกลำไยเป็นอย่างยิ่ง ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญรายใหญ่ได้แก่ ประเทศจีน ซึ่งขั้นตอนก่อนการส่งออกลำใยหรือจัดจำหน่ายลำไยทั้งในประเทศและต่างประเทศจะมีขั้นตอนที่ทำให้ผลของลำไยมาแปรรูปโดยการอบให้แห้งทั้งเปลือก เพื่อการเก็บรักษาและไว้บริโภคได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตลำไยให้สูงขึ้นและการแก้ไขปัญหาด้านราคาผลผลิตตกต่ำลำไยสด
               การผลิตลำไยอบแห้งจะใช้วิธีการอบผลลำไยสดด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) โดยการ ออกแบบและสร้างห้องอบแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยใช้แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ได้จากการเผาผงกำมะถันจากถังอัดความดันโดยตรงกับผลลำไยสดด้วยระบบหมุนเวยีนอากาศแบบบังคับ ซึ่งแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ณ ความเข้มข้นในระดับ 0.10.3 พีพีเอ็ม แต่ถ้ามีค่ามากถึงระดับ 3 พีพีเอ็มขึ้นไปจะมีกลิ่นฉุนและแสบจมูก ซึ่งแก็สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้เป็นสำคัญ โดยการอบแห้งลำไยมักมีปัญหาเกี่ยวกับการมีปริมาณแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตกค้างในผลลำไยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เนื่องจากการใช้ค่าเกินกำหนดที่กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดไว้ ปัญหาของแก็สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนจะอธิบายและนำเสนอโครงงานชุดต้นแบบการแจ้งเตือนการรั่วไหลของแก็สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับการรมควันลำไยที่เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง โดยจะใช้เซนเซอร์ตรวจวัดแก็สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เบอร์ MQ 136 ในโครงงานนี้ ส่วนความแม่นยำของโครงงานดังกล่าวยังคงมีประสิทธิภาพการใช้งานในระดับหนึ่งเท่านั้น
 การใช้งานชุดต้นแบบการแจ้งเตือนแก็สซัลเฟอร์ไดออกไซด์
 ในขั้นตอนแรก คือ นำแบตเตอรี่ขนาด 9 โวลต์ พร้อมขั้วสายต่อ ต่อเชื่อมกับอินพุตและทำการเปิดสวิตซ์ S1 การทำงานชุดต้นแบบการแจ้งเตือนแก็สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากนั้น ให้นำแอมโมเนียที่เตรียมไว้ชุบสำลีพร้อมเข้าไปใกล้บริเวณเซนเซอร์ MQ 1361พร้อมสังเกตการแสดงผลค่าการตรวจจับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) จากการแจ้งเตือนด้วยเสียงความถี่ผ่านลำโพงหรือไม่?  ถ้าไม่ปรากฏเสียงดังออกจากลำโพง ให้ผู้ทดลองทำการปรับแต่งค่าจาก VR1 พร้อมทั้งสังเกตการแสดงผลด้วยเสียงออกทางลำโพงหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าชุดตรวจจับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์พร้อมนำไปใช้งานได้เสร็จสมบูรณ์ ก่อนนำไปใช้งานให้เกษตทำการไปติดตั้ง ณ บริเวณที่ต้องการตรวจจับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากนั้น ให้ทำการปรับแต่งค่าที่ VR1 อีกครั้ง ก่อนการตรวจจับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์อีกครั้ง 


รูปที่ 1. การทดสอบการทำงานของชุดต้นแบบการแจ้งเตือนแก็สซัลเฟอร์ไดออกไซด์
สรุป ชุดต้นแบบการแจ้งเตือนแก็สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับการรมควันลำไยที่ประกอบวงจรเสร็จสมบูรณ์พร้อมนำไปทดสอบใช้งานได้ในระดับหนึ่งที่พอใช้ได้ เพื่อช่วยเกษตรกรที่ผลิตลำไยอบแห้งจะใช้วิธีการอบผลลำไยสดด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) สามารถตรวจสอบการรั่วไหลของแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในโรงอบลำไยหรือสถานที่ๆใช้กระบวนการผลิตลำไยอบแห้งด้วยกรรมวิธีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจของเกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้เป็นสำคัญ .…………   
เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจโครงงานดังกล่าวนี้หรือโครงงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางด้านเกษตรกรรมหรือต้องการเซนเซอร์ตรวจจับก็าซชนิดต่างๆสามารถติดต่อมาได้ที่ 0867016463 หรือ LINE ID: panya.mak ได้เลยนะครับ..........