นวัตกรรมการตรวจวัดสภาพดินในการเพาะปลูกอย่างชาญชฉลาด
เพื่อการการวิเคราะห์ข้อมูลการปลูกพืช สำหรับเกษตรกรยุคดิจิตอล………………….
เมื่อความใสใจในสุขภาพของคนไทยเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น
การปลูกผักรับประทานแบบปลอดสารพิษ จึงเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญ การใช้เทคโนโลยีสำหรับการปลูกพืช รวมถึงการจัดการกรรมวิธีและการดูแลรักษาที่ใช้องค์ความรู้อย่างถ่องแท้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมรอบด้านต่างๆ
ก่อนการปลูกพืชและหลังจากการปลูกพืช จึงเป็นจำเป็นสำหรับเกษตรกรยุคใหม่
เนื่องจากสภาพอากาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน อาทิเช่น การวิเคราะห์สภาพดิน อุณหภูมิ ความชื้นและแสงแดดที่เหมาะสมกับพืช
เป็นต้น การใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์สำหรับการตรวจวัดค่าปริมาณทางฟิสิกซ์และเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์รายละเอียด จึงได้ถูกคิดค้นขึ้น
“PlantSmart” คือ เซ็นเซอร์ดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยีในที่ช่วยวิเคราะห์สภาพดิน
อุณหภูมิ ความชื้นและแสงแดดที่เหมาะสมกับพืชได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ข้อมูลที่ถูกบันทึกได้สามารถนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลพันธุ์พืชกว่า
6,000 สายพันธุ์ ที่อยู่ในเว็บผู้ให้บริการ เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเติบโตของต้นไม้ของเกษตรกร
เมื่อเทียบกับการปลูกที่อื่นและสภาพดินที่แตกต่างกันออกไป แสดงรูปทรงของ PlantSmart
ดังรูปที่ 1.
ที่มีส่วนประกอบส่วนโครงสร้างด้านบนที่มีเซนเซอร์ตรวจจับค่าแสงแดด
อุณหภูมิและโพรบวัดความชื้นในดิน
รูปที่ 1. โครงสร้างภายนอกและส่วนประกอบของ “PlantSmart”
แหล่งที่มา: http://www.thelovelyplants.com/digital-plant-care-sensor-for-gardeners/
เกษตรกรสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายเพียงปัก PlantSmart นี้ลงไปในดิน เซนเซอร์ก็จะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในช่วงเวลาที่ต้นไม้บริเวณนั้นๆ
รับแสงแดด อุณหภูมิและความชื้น เมื่อต้องการทราบรายละเอียดข้อมูลรับแสงแดด
อุณหภูมิและความชื้นที่บันทึก เกษตรกรเพียงนำชุด PlantSmart ไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
PC หรือ Mac ผ่านพอร์ตยูเอสบี (USB) ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและดาวน์โหลดรายการที่กำหนดเองของพืชขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของคุณที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และประเภทของดินและน้ำ
เพื่อดูรายงานฉบับสมบูรณ์ของสวนของเกษตรกรผ่านทางโปรแกรมฐานข้อมูลที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้ได้
นอกจากการรายงานผลข้อมูลที่บันทึกแล้ว PlantSmart ยังจะแนะนำประเภทหรือชนิดของพืชผักผลไม้
สมุนไพร ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้พุ่มจำนวน 6,000 สายพันธุ์ ที่อยู่ในฐานข้อมูล
เพื่อแนะนำว่าต้นไม้หรือพืชผักประเภทใดที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของบ้านหรือสวนของเกษตรกรได้อย่างเหมาะสม
อีกทั้ง ยังแนะนำเกษตรกรผ่านขั้นตอนการตัดแต่งกิ่งและยังสามารถวัดธาตุอาหารในดินของเพื่อตรวจสอบการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมที่เกษตรกรจำเป็นต้องทราบ
เพื่อให้พืชมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ดังรูปที่ 3.
แต่คุณลักษณะการใช้งานฟังก์ชันนี้จะต้องมีการสมัครสมาชิกพิเศษ
รูปที่ 2. การใช้งาน PlantSmart ที่ปักลงไปในดินและเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ PC หรือ Mac ผ่านพอร์ตยูเอสบี
(USB) ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อรายงานสภาพแวดล้อมต่างๆ ตามลำดับ
แหล่งที่มา:http://www.thelovelyplants.com/digital-plant-care-sensor-for-gardeners/
แหล่งที่มา:https://www.amazon.com/PlantSense-1000-EasyBloom-Plant-Sensor/dp/B001E5DF66
รูปที่ 3. การรายงานปริมาณทางฟิสิกส์ที่ตรวววัดได้ค่าแสงแดด
อุณหภูมิ ความชื้นในดินและปุ๋ยที่เหมาะสม
แหล่งที่มา: http://www.thelovelyplants.com/digital-plant-care-sensor-for-gardeners/
ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจาก
-
ให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสิ่งที่จะช่วยในการเจริญเติบโตของพืชในสวนของเกษตรกรตามคำแนะนำในการดูแลพืชและการรดน้ำต้นไม้ของเกษตรกรที่เหมาะสม
การใช้งานที่ง่าย
-
สามารถตรวจวัดปริมาณแสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น การใส่ปุ๋และสภาพความสมบูรณ์ของดิน
-
การนำไปใช้งานได้ทั้งในกระถางต้นไม้ภายในบ้านหรือภายนอกที่เหมาะสมหรือในเรือนเพาะปลูกแบบโปร่งแสงก็ได้ที่ใช้งานกับไม้ดอก ผัก ผลไม้ ไม้พุ่ม หญ้าและต้นไม้ เป็นต้น
ใช้งานร่วมกับสาย USB ในการดาวน์โหลดข้อมูลและใช้แบตเตอรี่ขนาด AAA จำนวน 1 ก้อน
-
ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เซนเซอร์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับคอมพิวเตอร์
ข้อมูลที่บันทึกจะโอนไปยังเว็บไซต์ฐานข้อมูลพืชที่มีผู้ให้บริการโดยบริษัท “Black & Decker” โดยอัตโนมัติ
-
สนนราคาประมาณ US$ 60 ประมาณ 2,000
กว่าบาท รับประกัน 1 ปี ดูรายละเอียดข้อมูลได้ที่ www.easybloom.com
รูปที่ 4. ผลิตภัณฑ์ PlantSmart หรืออีกชื่อที่เรียก คือ “EasyBloom” และการใช้งานในกระถางต้นไม้ภายในหรือภายนอกบ้าน
แหล่งที่มา:https://www.amazon.com/PlantSense-1000-EasyBloom-Plant-Sensor/dp/B001E5DF66
แหล่งที่มา: https://www.cnet.com/au/products/easybloom-plant-sensor/review/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น